ภาคกลาง
ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมาจากที่สูงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย ภูมิประเทศเป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศ ลักษณะเป็นราบลูกฟูกและภูเขาโดดที่เหลืออยู่บริเวณชายขอบ บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสาคัญของประเทศ
ทิวเขาที่นับว่าเป็นหลักในภาคกลาง แบ่งออกได้เป็น 6 ทิวเขาด้วยกันคือ
1. ทิวเขาเพชรบูรณ์
เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งเชื่อมโยงต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ธิเบต-ยูนนาน ทิวเขานี้กรหนาบลำน้ำป่าสักอยู่สองข้าง เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำเลย ตอนเหนือใต้กั้นภาคกลางกับภาคอิสาน อยู่ระหว่างจังหวัดเลยกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ตอนกลางกั้นระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ตอนใต้กั้นจังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัดชัยภูมิ ทิวเขาทางด้านตะวันตกกั้น จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ จนถึงลพบุรีกับเขตจังหวัดเพชรบูรณ์โดยตลอด
2. ทิวเขาดงพระยาเย็น
เป็นเทือกเขาติดต่อจากทิวเขาเพชรบูรณ์ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ทิวเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวันตกกับทิวเขาดงพระยาเย็นด้านตะวันออก มีลักษณะเป็นทิวเขาที่ยกเป็นชั้นขึ้นไป คือยกชั้นภาคอิสานทั้งภาคให้สูงกว่าภาคกลาง บริเวณตอนเหนือของทิวเขาดงพระยาเย็น อยู่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ตอนกลางอยู่ในเขตจังหวัดลพบุรี ตอนใต้อยู่ในเขตจังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้เดิมเรียกว่า ดงพระยาไฟ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพระยาเย็น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดงพระยาเย็นอยู่ประมาณแนวทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณที่ถนนสุรนารายณ์ผ่านเรียกว่า ดงพระยากลาง ส่วนดงพระยาต้น หรือดงพระยาริม ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าอยู่ในบริเวณใด
3. ทิวเขาดงพระยาเย็น
เป็นทิวเขาหินปูนไม่สูงนัก ยอดสูงสุดคือ เขาพังเหย สูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ดังนั้นบริเวณนี้จึงกันดารน้ำมาก ทิวเขานี้กั้นภาคกลางกับภาคอิสาน มีช่องทางสำคัญอยู่สามช่องทางด้วยกันคือ ช่องทางปากช่อง ช่องทางแนวถนนสุรนารายณ์ และช่องสระผม ซึ่งมีด่านกักสัตว์ของกรมปศุสัตว์ตั้งอยู่ สำหรับกักสัตว์ที่ต้อนมาจากภาคอิสาน ซึ่งเดินเลียบลำน้ำสนธิ เพื่อเข้าสู่ภาคกลาง
4. ทิวเขาสันกำแพง
ป็นทิวเขาที่มีทิศทางเฉียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กั้นเขตจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี ทางด้านตะวันออกเป็นเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านตะวันตกเป็นเขตจังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี บางตอนของทิวเขานี้ เช่นทางด้านนครราชสีมาเป็นเขาหินปูน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นขอบของปากปล่องภูเขาไฟ
5. ทิวเขาสันกำแพง
มีช่องทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญอยู่สามช่องทาง คือ ช่องบุขนุนช่องบุพราหมณ์ และช่องตะโก ทิวเขาสันกำแพงได้แบ่งน้ำลงสู่ลำน้ำต่าง ๆ ดังนี้คือ ไหลลงลำน้ำป่าสัก ได้แก่ ลำห้วยมวกเหล็ก มีน้ำตลอดปี ไหลลงลำน้ำมูล ได้แก่บรรดาสาขาต่าง ๆ ของลำน้ำมูล และลำตะคอง ไหลลงลำน้ำปราจีนบุรี ได้แก่ ลำน้ำนครนายก ลำน้ำประจันตคาม และลำน้ำกบินทร์ ลำน้ำดังกล่าวนี้มีน้ำตลอดปี บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเทือกเขานี้ได้แก่ บริเวณอำเภอปากช่อง และอำเภอจันทึก จะมีน้ำตลอดปี
6. ทิวเขาใหญ่
หรือ เขาแม่วง เป็นเทือกเขาต่อจากทิวเขาถนนธงชัยอีกแนวหนึ่ง คือเป็นแนวที่ซ้อนกันอยู่ ทิวเขาถนนธงชัยอยู่ทางด้านตะวันตก มีลุ่มน้ำแม่กลองอยู่ตอนกลาง และมีทิวเขาใหญ่ซ้อนอยู่ทางด้านตะวันออก ขนานกับทิวเขาถนนธงชัยลงมาทางใต้ ในตอนเหนือเริ่มตั้งแต่ จังหวัดกำแพงเพชร ตลอดลงมาทางใต้จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี ทิวเขานี้ปันน้ำลงลำน้ำแม่กลองส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่งลงลำน้ำเจ้าพระยา ในส่วนที่ไหลลงลำน้ำแม่กลองได้แก่ ลำน้ำแควใหญ่ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ ลำน้ำสะแกกรัง ลำห้วยกะทง (ต้นลำน้ำท่าจีน)
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลผ่านอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร เปรียบเสมือน “เส้นโลหิตใหญ่ของไทย”
2. แม่น้ำท่าจีน เกิดจากการแยกตัวของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท เรียกว่าแม่น้ำมะขามเฒ่า ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี ผ่านนครปฐม เรียกว่าแม่น้ำท่าจีน ไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างตำบลหญ้าแพรก กับตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวประมาณ 315 กิโลเมตร
3. แม่น้ำบางปะกง เกิดจากเทือกเขาสันกำแพง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร
4. แม่น้ำป่าสัก เกิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ไหลมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร
ที่ต้้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร
ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม
ภาคกลางมีพื้นที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 21 จังหวัด 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
ลักษณะภูมิอากาศ
ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน