ภาคใต้
ลักษณะภูมิประเทศภาคใต้
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ
1. เขตเทือกเขา มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
- เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
- เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค
- เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค
2. เขตที่ราบ ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว
แม่น้ำที่สำคัญของภาค
แม่น้ำของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อย และไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี ส่วนแม่น้ำโกลก เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า และแม่น้ำตรังไหลลงสู่ทะเลอันดามัน
อ้างอิง
https://sites.google.com/a/mvsk.ac.th/theiyw-ni-ti/watthuprasngkh/14-canghwad-phakh-ti
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซียที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ภาคใต้นั้นมีจังหวัดอยู่ทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้
1.จังหวัดกระบี่
2.จังหวัดชุมพร
3.จังหวัดตรัง
4.จังหวัดนครศรีธรรมราช
5.จังหวัดนราธิวาส
6.จังหวัดปัตตานี
7.จังหวัดพังงา
8.จังหวัดพัทลุง
9.จังหวัดภูเก็ต
10.จังหวัดระนอง
11.จังหวัดสตูล
12.จังหวัดสงขลา
13.จังหวัดสุราษฎร์ธานี
14.จังหวัดยะลา
ลักษณะภูมิอากาศภาคใต้
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น