ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือแยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่าแอ่งโคราช มีแม่น้าชีและแม่น้ามูนไหลผ่าน และไหลลงสู่แม่น้าโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกาแพง และเทือกเขาพนมดงรัก
ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ ได้แก่
1. บริเวณแอ่งที่ราบ
- แอ่งที่ราบโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและชี ลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขา
- แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคตั้งแต่แนวเขาภูพานไปจนถึงแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน
2. บริเวณเขตภูเขา
- ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็น
- ภูเขาทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ ภูเขาสันกำแพง ภูเขาพนมดงรัก
- ภูเขาที่แบ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ทิวเขาภูพาน
เขตทิวเขาสำคัญ
ทิวเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้มี 4 ทิวเขาด้วยกันคือ ทิวเขาเลย ทิวเขาภูเก้า ทิวเขาภูพาน และทิวเขาพนมดงรัก
1.ทิวเขาเลย
เป็นทิวเขาหินแกรนิต อยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของภาค ในเขตจังหวัดเลยกับจังหวัดอุดร ทิวเขานี้เป็นแขนงของทิวเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งแยกออกไปบนพื้นที่ราบสูงทางด้านตะวันออก มีทิศทางจากด้านเหนือ บริเวณฝั่งลำน้ำโขงทางทิศตะวันออกของ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงมาทางใต้ต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ทางด้านตะวันออกในตอนภูผาลาย และภูกระทิง
2. ทิวเขาภูเก้า
หรือทิวเขาเก้ายอด เป็นทิวเขาหินแกรนิตขนาดเล็ก อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเมืองอุดร ในเขตอำเภอเมืองหนองบัวลำพู มีทิศทางจากเหนือในเขต อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทอดตัวลงมาทางทิศใต้ถึงอำเภอภูเวียง และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
3. ทิวเขาภูพา
เป็นทิวเขาหินปูน เป็นทิวเขาที่มีขนาดใหญ่ทิวหนึ่งของภาคนี้ ทิวเขานี้ได้แบ่งพื้นที่ราบออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ที่ราบนครราชสีมา - อุบล อยู่ทางด้านใต้ กับที่ราบอุดร - นครพนมอยู่ทางด้านเหนือ
4. ทิวเขาพนมดงรัก
เป็นทิวเขาหินปูนอยู่ทางตอนใต้สุดของภาค เริ่มต้นจากบริเวณช่องตะโก ซึ่งเป็นรอยต่อกับทิวเขาสันกำแพงไปทางทิศตะวันออกจนถึงภูแดนเมือง แล้วทอดตัววกขึ้นเหนือไปสุดที่ลำน้ำโขง ในเขตอำเภอพิบูลมังษาหาร รวมความยาว ประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นทิวเขาแคบ ๆ มีความกว้างระหว่าง 4 - 25 กิโลเมตร ทางด้านเหนือมีลักษณะเป็นลาดยาวไปทางพื้นที่ราบสูง ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นผาชันลงไปสู่ที่ราบต่ำที่เรียกว่าเขมรต่ำ ยอดเขาสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ยอดสูงสุดคือพนมดงรัก สูง 721 เมตร อยู่ทางใต้อำเภอเดชอุดม เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำโดมใหญ่ ยอดสูง ๆ จะอยู่ในเขต จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งจะมีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 600 เมตร ได้แก่
แม่น้ำสำคัญ
1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี
อ้างอิง http://www.knowintro.com/th/1305
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีภูเขาพนมดงรัก และสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันตก ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดกาฬสินธุ์
2. จังหวัดขอนแก่น
3. จังหวัดชัยภูมิ
4. จังหวัดนครราชสีมา
5. จังหวัดนครพนม
6. จังหวัดบุรีรัมย์
7. จังหวัดบึงกาฬ
8. จังหวัดมหาสารคาม
9. จังหวัดมุกดาหาร
10. จังหวัดยโสธร
11. จังหวัดร้อยเอ็ด
12. จังหวัดเลย
13. จังหวัดสกลนคร
14. จังหวัดสุรินทร์
15. จังหวัดศรีสะเกษ
16. จังหวัดหนองคาย
17. จังหวัดหนองบัวลำภู
18. จังหวัดอุดรธานี
19. จังหวัดอุบลราชธานี
20. จังหวัดอำนาจเจริญ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง
- ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย
- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา
- ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น