ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศไทย

1. ที่ตั้งตามละติจูด อยู่เขตอากาศร้อน
2. การขวางกั้นของภูเขา ทาให้เกิดเขตเงาฝน (Rain Shadow) บริเวณหลังเขาอากาศจะอบอ้าวและแห้งแล้ง
3. ความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงยิ่งหนาว สูงทุกๆ 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศาเซลเซียส
4. ความใกล้ – ไกลทะเล พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล ความแตกต่างระหว่างร้อนกับหนาวมีน้อย
5. ทิศทางของลมประจา ได้แก่ 
     - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นาพาความชื้นและฝนมาตก เพราะพัดมาจากมหาสมุทร (มหาสมุทรอินเดีย)
     - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นาพาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาให้ เพราะพัดมาจากแผ่นดิน (จีน)
6. อิทธิพลของลมมรสุม ลมมรสุมใต้ฝุ่นที่เกิดบริเวณทะเลจีนใต้ได้พัดเข้ามาสู่ประเทศไทยบ่อยๆ แต่ลดกาลังเป็นดีเปรสชัน (ซึ่งเป็นพายุหมุนที่เบาที่สุด) เนื่องจากพัดผ่านแผ่นดินเวียดนามและลาวจึงทาให้อ่อนกาลังลง

ฤดูกาลของประเทศไทย

1. ฤดูฝน เป็นฤดูกาลที่มีช่วงเวลายาวนานกว่าฤดูอื่น ๆ (พฤษภาคม – กันยายน) โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน มีฝนตกชุกที่สุด ทั้งนี้เพราะ
 - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน นาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยทาให้เกิดฝนตกทั่วทุกภาค
 - ลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยบางพื้นที่ทา ให้เกิดฝนตกหนัก

2. ฤดูหนาว (ตุลาคม – กุมภาพันธ์) เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนบนของประเทศจีน พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาสู่ประเทศไทยพื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าทุกภาค เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรงมากกว่าภาคอื่น ๆ

3. ฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิและโดยปกติจะมี มีฝนทั้งนี้เพราะ
 - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกาลังลงอุณหภูมิจึงสูงขึ้นไม่มีฝน
 - ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากกับประเทศไทยมากที่สุด ทาให้มีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะในเดือนเมษายน

4. สภาพภูมิอากาศของภาคใต้ มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน (ไม่มีฤดูหนาว) เนื่องจากไม่มีเดือนใดที่มีอุณหภูมิของอากาศต่าหรือสูงจนเรียกว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น