ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตก


ลัษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก

        ส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือ ทิวเขาจะยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทางภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขา  

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ คือ

- เขตเทือกเขา ได้แก่บริเวณเทือกเขา และที่สูงซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของภาค เทือกเขาที่เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า ได้แก่
   - เทือกเขาถนนธงชัย
   - เทือกเขาที่อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย
   - เทือกเขาตะนาวศรี
- เขตที่ราบ ได้แก่บรืเวณที่อยู่ระหว่างเขตเทือกเขา กับที่ราบภาคกลาง และอ่าวไทย แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อยได้แก่
   -เขตที่ราบขั้นบันได
   -เขตที่ราบชายฝั่งทะเล


ที่ตั้งและอาณาเขต

     ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
     ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชุมพร
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี อุทันธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ และอ่าวไทย
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า โดยมีเทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเจาตะนาวศรี เป็นพรมแดน

ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 

       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น