ภาคใต้

ภาคใต้


ลักษณะภูมิประเทศภาคใต้

    ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ 

1. เขตเทือกเขา     มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น 

       - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า 

       - เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย 

       - เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค 

       - เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 

2. เขตที่ราบ      ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว

แม่น้ำที่สำคัญของภาค 

       แม่น้ำของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อย และไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี ส่วนแม่น้ำโกลก เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า และแม่น้ำตรังไหลลงสู่ทะเลอันดามัน 

อ้างอิง 
https://sites.google.com/a/mvsk.ac.th/theiyw-ni-ti/watthuprasngkh/14-canghwad-phakh-ti

ที่ตั้งและอาณาเขต

     ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร 

    ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 

    ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

    ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซียที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 

ภาคใต้นั้นมีจังหวัดอยู่ทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้ 
1.จังหวัดกระบี่
2.จังหวัดชุมพร
3.จังหวัดตรัง
4.จังหวัดนครศรีธรรมราช
5.จังหวัดนราธิวาส
6.จังหวัดปัตตานี
7.จังหวัดพังงา
8.จังหวัดพัทลุง
9.จังหวัดภูเก็ต
10.จังหวัดระนอง
11.จังหวัดสตูล
12.จังหวัดสงขลา
13.จังหวัดสุราษฎร์ธานี
14.จังหวัดยะลา

ลักษณะภูมิอากาศภาคใต้

     ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตก


ลัษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก

        ส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือ ทิวเขาจะยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทางภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขา  

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ คือ

- เขตเทือกเขา ได้แก่บริเวณเทือกเขา และที่สูงซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของภาค เทือกเขาที่เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า ได้แก่
   - เทือกเขาถนนธงชัย
   - เทือกเขาที่อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย
   - เทือกเขาตะนาวศรี
- เขตที่ราบ ได้แก่บรืเวณที่อยู่ระหว่างเขตเทือกเขา กับที่ราบภาคกลาง และอ่าวไทย แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อยได้แก่
   -เขตที่ราบขั้นบันได
   -เขตที่ราบชายฝั่งทะเล


ที่ตั้งและอาณาเขต

     ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
     ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชุมพร
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี อุทันธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ และอ่าวไทย
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า โดยมีเทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเจาตะนาวศรี เป็นพรมแดน

ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 

       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก

ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล 
         - เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้  และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา 
         - เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี 
         - เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน

      ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย 
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน

แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก 

     1. แม่น้ำบางปะกง หรือแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา 
     2. แม่น้ำระยอง มีต้นกำเนิดที่จังหวัดชลบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดระยอง 
     3. แม่น้ำเวฬุ มีต้นกำเนิดที่เทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่จังหวัดจันทบุร ี 
     4. แม่น้ำจันทบุรี 
อ้างอิง http://www.knowintro.com/th/1310

ที่ตั้งและขอบเขตภาคตะวันออก 

     ทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชา ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพฯ สมุทรปราการ อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
     ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนใต้สุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 

ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
 

ลักษณะภูมิอากาศ 

 ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกคล้ายคลึงกับภาคใต้ คือ
    -ทางตอนบนของภาคจากปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราจะมีลักษณะอากาศแบบสะวันนา (Aw)
    -ส่วนทางตอนล่างคือจันทบุรีและตราด จะมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบมรสุม (Am) คือ มีฝนตกชุก อากาศร้อนชื้น 
จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ ชลบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะภูมิประเทศ

      ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือแยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่าแอ่งโคราช มีแม่น้าชีและแม่น้ามูนไหลผ่าน และไหลลงสู่แม่น้าโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกาแพง และเทือกเขาพนมดงรัก
     ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ ได้แก่
   1. บริเวณแอ่งที่ราบ 
      - แอ่งที่ราบโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและชี ลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขา 
      - แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคตั้งแต่แนวเขาภูพานไปจนถึงแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน 
   2. บริเวณเขตภูเขา 
      - ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็น 
      - ภูเขาทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ ภูเขาสันกำแพง ภูเขาพนมดงรัก 
      - ภูเขาที่แบ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ทิวเขาภูพาน 

เขตทิวเขาสำคัญ

     ทิวเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้มี  4 ทิวเขาด้วยกันคือ ทิวเขาเลย ทิวเขาภูเก้า ทิวเขาภูพาน และทิวเขาพนมดงรัก

1.ทิวเขาเลย
     เป็นทิวเขาหินแกรนิต อยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของภาค ในเขตจังหวัดเลยกับจังหวัดอุดร ทิวเขานี้เป็นแขนงของทิวเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งแยกออกไปบนพื้นที่ราบสูงทางด้านตะวันออก มีทิศทางจากด้านเหนือ บริเวณฝั่งลำน้ำโขงทางทิศตะวันออกของ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงมาทางใต้ต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ทางด้านตะวันออกในตอนภูผาลาย และภูกระทิง

2. ทิวเขาภูเก้า
     หรือทิวเขาเก้ายอด เป็นทิวเขาหินแกรนิตขนาดเล็ก อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเมืองอุดร ในเขตอำเภอเมืองหนองบัวลำพู มีทิศทางจากเหนือในเขต อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทอดตัวลงมาทางทิศใต้ถึงอำเภอภูเวียง และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

3. ทิวเขาภูพา
     เป็นทิวเขาหินปูน เป็นทิวเขาที่มีขนาดใหญ่ทิวหนึ่งของภาคนี้ ทิวเขานี้ได้แบ่งพื้นที่ราบออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ที่ราบนครราชสีมา - อุบล อยู่ทางด้านใต้ กับที่ราบอุดร - นครพนมอยู่ทางด้านเหนือ

4. ทิวเขาพนมดงรัก
     เป็นทิวเขาหินปูนอยู่ทางตอนใต้สุดของภาค เริ่มต้นจากบริเวณช่องตะโก ซึ่งเป็นรอยต่อกับทิวเขาสันกำแพงไปทางทิศตะวันออกจนถึงภูแดนเมือง แล้วทอดตัววกขึ้นเหนือไปสุดที่ลำน้ำโขง ในเขตอำเภอพิบูลมังษาหาร รวมความยาว ประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นทิวเขาแคบ ๆ มีความกว้างระหว่าง 4 - 25 กิโลเมตร ทางด้านเหนือมีลักษณะเป็นลาดยาวไปทางพื้นที่ราบสูง ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นผาชันลงไปสู่ที่ราบต่ำที่เรียกว่าเขมรต่ำ ยอดเขาสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ยอดสูงสุดคือพนมดงรัก สูง 721 เมตร อยู่ทางใต้อำเภอเดชอุดม เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำโดมใหญ่ ยอดสูง ๆ จะอยู่ในเขต จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งจะมีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 600 เมตร ได้แก่

แม่น้ำสำคัญ

   1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี 
   2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี
อ้างอิง http://www.knowintro.com/th/1305

ที่ตั้งและอาณาเขต

      ทิศเหนือ      ติดกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
      ทิศใต้         ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอครบุรี       จังหวัดนครราชสีมา มีภูเขาพนมดงรัก และสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน 
      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
      ทิศตะวันตก   ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 
                        มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน 
     


ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด  ดังนี้  

1. จังหวัดกาฬสินธุ์    
2. จังหวัดขอนแก่น 
3. จังหวัดชัยภูมิ
4. จังหวัดนครราชสีมา 
5. จังหวัดนครพนม 
6. จังหวัดบุรีรัมย์
7. จังหวัดบึงกาฬ
8. จังหวัดมหาสารคาม
9. จังหวัดมุกดาหาร
10. จังหวัดยโสธร

11. จังหวัดร้อยเอ็ด
12. จังหวัดเลย
13. จังหวัดสกลนคร
14. จังหวัดสุรินทร์
15. จังหวัดศรีสะเกษ
16. จังหวัดหนองคาย
17. จังหวัดหนองบัวลำภู
18. จังหวัดอุดรธานี
19. จังหวัดอุบลราชธานี
20. จังหวัดอำนาจเจริญ
    
ลักษณะภูมิอากาศ
      ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ  มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง 
- ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย 
- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา
- ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี

ภาคกลาง

ภาคกลาง


ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง
           บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมาจากที่สูงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย ภูมิประเทศเป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศ ลักษณะเป็นราบลูกฟูกและภูเขาโดดที่เหลืออยู่บริเวณชายขอบ บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสาคัญของประเทศ

ทิวเขาที่นับว่าเป็นหลักในภาคกลาง แบ่งออกได้เป็น 6 ทิวเขาด้วยกันคือ

1. ทิวเขาเพชรบูรณ์

     เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งเชื่อมโยงต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ธิเบต-ยูนนาน ทิวเขานี้กรหนาบลำน้ำป่าสักอยู่สองข้าง เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำเลย ตอนเหนือใต้กั้นภาคกลางกับภาคอิสาน อยู่ระหว่างจังหวัดเลยกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ตอนกลางกั้นระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ตอนใต้กั้นจังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัดชัยภูมิ ทิวเขาทางด้านตะวันตกกั้น จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ จนถึงลพบุรีกับเขตจังหวัดเพชรบูรณ์โดยตลอด

2. ทิวเขาดงพระยาเย็น
     เป็นเทือกเขาติดต่อจากทิวเขาเพชรบูรณ์ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ทิวเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวันตกกับทิวเขาดงพระยาเย็นด้านตะวันออก มีลักษณะเป็นทิวเขาที่ยกเป็นชั้นขึ้นไป คือยกชั้นภาคอิสานทั้งภาคให้สูงกว่าภาคกลาง บริเวณตอนเหนือของทิวเขาดงพระยาเย็น อยู่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ตอนกลางอยู่ในเขตจังหวัดลพบุรี ตอนใต้อยู่ในเขตจังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้เดิมเรียกว่า ดงพระยาไฟ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพระยาเย็น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดงพระยาเย็นอยู่ประมาณแนวทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณที่ถนนสุรนารายณ์ผ่านเรียกว่า ดงพระยากลาง ส่วนดงพระยาต้น หรือดงพระยาริม ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าอยู่ในบริเวณใด

3. ทิวเขาดงพระยาเย็น
     เป็นทิวเขาหินปูนไม่สูงนัก ยอดสูงสุดคือ เขาพังเหย สูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ดังนั้นบริเวณนี้จึงกันดารน้ำมาก ทิวเขานี้กั้นภาคกลางกับภาคอิสาน มีช่องทางสำคัญอยู่สามช่องทางด้วยกันคือ ช่องทางปากช่อง ช่องทางแนวถนนสุรนารายณ์ และช่องสระผม ซึ่งมีด่านกักสัตว์ของกรมปศุสัตว์ตั้งอยู่ สำหรับกักสัตว์ที่ต้อนมาจากภาคอิสาน ซึ่งเดินเลียบลำน้ำสนธิ เพื่อเข้าสู่ภาคกลาง

4. ทิวเขาสันกำแพง
     ป็นทิวเขาที่มีทิศทางเฉียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กั้นเขตจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี ทางด้านตะวันออกเป็นเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านตะวันตกเป็นเขตจังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี บางตอนของทิวเขานี้ เช่นทางด้านนครราชสีมาเป็นเขาหินปูน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นขอบของปากปล่องภูเขาไฟ

5. ทิวเขาสันกำแพง
     มีช่องทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญอยู่สามช่องทาง คือ ช่องบุขนุนช่องบุพราหมณ์ และช่องตะโก ทิวเขาสันกำแพงได้แบ่งน้ำลงสู่ลำน้ำต่าง ๆ ดังนี้คือ ไหลลงลำน้ำป่าสัก ได้แก่ ลำห้วยมวกเหล็ก มีน้ำตลอดปี ไหลลงลำน้ำมูล ได้แก่บรรดาสาขาต่าง ๆ ของลำน้ำมูล และลำตะคอง ไหลลงลำน้ำปราจีนบุรี ได้แก่ ลำน้ำนครนายก ลำน้ำประจันตคาม และลำน้ำกบินทร์ ลำน้ำดังกล่าวนี้มีน้ำตลอดปี บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเทือกเขานี้ได้แก่ บริเวณอำเภอปากช่อง และอำเภอจันทึก จะมีน้ำตลอดปี

6. ทิวเขาใหญ่
     หรือ เขาแม่วง เป็นเทือกเขาต่อจากทิวเขาถนนธงชัยอีกแนวหนึ่ง คือเป็นแนวที่ซ้อนกันอยู่ ทิวเขาถนนธงชัยอยู่ทางด้านตะวันตก มีลุ่มน้ำแม่กลองอยู่ตอนกลาง และมีทิวเขาใหญ่ซ้อนอยู่ทางด้านตะวันออก ขนานกับทิวเขาถนนธงชัยลงมาทางใต้ ในตอนเหนือเริ่มตั้งแต่ จังหวัดกำแพงเพชร ตลอดลงมาทางใต้จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี ทิวเขานี้ปันน้ำลงลำน้ำแม่กลองส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่งลงลำน้ำเจ้าพระยา ในส่วนที่ไหลลงลำน้ำแม่กลองได้แก่ ลำน้ำแควใหญ่ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ ลำน้ำสะแกกรัง ลำห้วยกะทง (ต้นลำน้ำท่าจีน)

แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง       

       1. แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลผ่านอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร เปรียบเสมือน “เส้นโลหิตใหญ่ของไทย”

     2. แม่น้ำท่าจีน เกิดจากการแยกตัวของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท เรียกว่าแม่น้ำมะขามเฒ่า ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี ผ่านนครปฐม เรียกว่าแม่น้ำท่าจีน ไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างตำบลหญ้าแพรก กับตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวประมาณ 315 กิโลเมตร

     3. แม่น้ำบางปะกง เกิดจากเทือกเขาสันกำแพง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร

     4. แม่น้ำป่าสัก เกิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ไหลมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร

ที่ต้้งและอาณาเขต
     ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย 

     ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

     ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร 

     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 

ภาคกลางมีพื้นที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 21 จังหวัด 1 เขตการปกครองพิเศษ  ได้แก่  นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม    สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร 

ลักษณะภูมิอากาศ
       ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 



ภาคเหนือ

ภาคเหนือ


ลักษณะภูมิประเทศ
           ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขามีความสูงชัน จากบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อย ๆ ลาดต่าลงมาสู่ที่ราบต่ำ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางแล้วค่อยๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งกาเนิดของแม่น้ำลาธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้าโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้าเจ้าพระยาทางด้านใต้ทาให้เกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน ทำให้กลายเป็นแหล่งชุมชนสำคัญของภาค


เขตทิวเขาสำคัญ ประกอบด้วย

           - ทิวเขาแดนลาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า
           - ทิวเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า มียอดเขาที่สูงสุดของประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์สูง 2,565 เมตร

            - ทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วยทิวเขาจอมทอง ขุนตาล ที่ปันน้ำลง 2 ทาง คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา
             โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
           - ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับลาว

เขตที่ราบหุบเขา มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาและหุบเขา มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินอุดมสมบูรณ์

เขตแอ่งที่ราบ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชุมชนทางภาคเหนือ


แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ     1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง
     2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน     3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำปาย 


 อ้างอิง https://2908578e-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sunisa1985555/phumisastr-phakh-henux/9.jpg?attachauth=ANoY7crcwKpUFoTNL_USNWP4TjkC9sIJlg8IoJihg7sc0dTRXV2Y9w0RbKpo8zLlaU8beqFr4UcswdA4qKY53GqC36xQNvpmzv7gxbv6Qs4wHs8PbIvktdXCINN_ioGiAV4i_dgl454wj7VCPYnttoulwePg9TZCPFoe5hjsF4L7wG80HdeA_5jAOsBLnHhbwR-pFEnUVlVO12z-hhQjwkjevW86J4JA_dFuri7uJYl3g5vmcvwEYSg%3D&attredirects=0



ที่ตั้งและอาณาเขต
         ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า มีแม่น้ำเมยและแม่น้ำสาละวินกั้นเขตแดน            
          ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและลาว มีเทือกเขาแดนลาว แม่น้ำสายและแม่น้ำรวกกั้นเขตแดน ท่าขี้เหล็ก (เหนือสุดในสยาม) อ.แม่สาย จ.เชียงราย              
         ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาคคือ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์            
         ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว มีเทือกเขาหลวงพระบางกั้นเขตแดน




ภาคเหนือ    ประกอบ ด้วยพื้นที่  9  จังหวัด   ได้แก่  เชียงราย   แม่ฮ่องสอน   พะเยา   เชียงใหม่  น่าน  ลำพูน   ลำปาง  แพร่  และอุตรดิตถ์

ลักษณะภูมิอากาศของภาคเหนือ     ภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้งอุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค.- ต.ค.) ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.) จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง     ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิในภาคเหนือ         1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น         2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว         3. ระยะไกลจากทะเล ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน         4. ทิศทางลมประจำ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกมาก และรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น           ทรัพยากรธรรมชาติในภาคเหนือ     1. ทรัพยากรดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง มีความลาดชันมากและมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดินได้ง่ายดินที่พบตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ คือ ดินอัลลูเวียนเหมาะในการทำนา และดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่     2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำในภาคเหนือเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประกอบด้วยหลายสายและมีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ กว๊านพะเยา และมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็กจำนวนมากและใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า